กันซึมหลังคา

วิธีแก้ปัญหาดาดฟ้า หลังคารั่วซึม ด้วย ‘ผลิตภัณฑ์กันซึมหลังคา’

วิธีแก้ปัญหาดาดฟ้า หลังคารั่วซึม ป้องกันดาดฟ้า และหลังคารั่วซึมในฤดูฝน สามารถซ่อมแซมปัญหารอยแตกร้าวต่าง ๆ ของดาดฟ้า และหลังคา ด้วยขั้นตอนและวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่รู้เทคนิคก็สามารถซ่อมแซมให้กลับมามีสภาพที่สวยงามเหมือนเดิมได้ ด้วยผลิตภัณฑ์กันซึมหลังคาและวิธีนี้ 

1. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสามารถกันน้ำรั่วซึม และปกปิดรอยแตกร้าว ทนทานต่อสภาวะอากาศ และรังสียูวีได้ดี เป็นผลิตภัณฑ์อะคริลิกทากันน้ำรั่วซึม ไร้รอยต่อ มีความยืดหยุ่นสูงมากกว่า 5 เท่า

2. การเตรียมพื้นผิว ให้ทำความสะอาดจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ รวมทั้งเชื้อรา และกำจัดตะไคร่น้ำออกให้หมด ทิ้งไว้ให้แห้ง ถ้าบริเวณพื้นผิวเดิมทาสีไว้ หรือมีวัสดุกันซึมที่เสื่อมสภาพแล้ว ให้ขูดออกให้หมดก่อน

3. ให้ทารองพื้นก่อนหนึ่งชั้น เพื่อให้เคลือบผิวภายนอกให้เรียบก่อนลงผลิตภัณฑ์จริง จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 1-2 ชั่วโมง ค่อยลงมือเคลือบผิว

4. การทาทับหน้า จะเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่ง ทนทานให้พื้นผิวงาน ด้วยการปูพื้นผิวด้วยตาข่ายไฟเบอร์กลาสให้เต็มพื้นที่ แล้วจึงทาด้วยผลิตภัณฑ์เคลือบผิว 1-2 เที่ยว ทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 12 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้การยึดเกาะดียิ่งขึ้นผิวไม่หลุดล่อน ทนทานต่อการเหยียบย่ำสูงต่าง ๆ

จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดกับผนัง และหลังคาส่วนใหญ่ ได้แก่

ปัญหาผนังรั่วแตก ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในตัวบ้านได้ ปัญหาของดาดฟ้าที่มีรอยแตกร้าว ทำให้น้ำซึมลงไปชั้นล่าง ปัญหาของหลังคาที่มีรอยต่อแยกออกจากันทำให้น้ำซึมหรือรั่ว แนวทางในการแก้ไขปัญหา ให้ตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหาให้พบ ซึ่งอาจเป็นรอยแตกร้าว หรือ รอยแตกลายงาที่มีอยู่ทั่วไป ให้ทำความสะอาดบริเวณที่มีรอยแตกร้าว หรือ รอยแตกลายงาต่าง ๆ ดังกล่าวให้สะอาดก่อน ที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทอะครีลิกกันซึม หรือ ประเภทโพลียูรีเทน ทาบริเวณที่มีรอยแตกร้าว หรือ แตกลายงา ประมาณ 2 เที่ยว

ในกรณีที่มีรอยแตกร้าวและมีความกว้างมากกว่า 1 ซม. ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทโพลียูรีเทน จะได้ผลดีกว่าอะคริลิกกันซึม ในกรณีที่ต้องใช้กับบริเวณที่เป็นดาดฟ้า เมื่อทาพื้นด้วยอะคริลิกกันซึมมาถึงผนังหรือกำแพงแล้ว ให้ทาขึ้นสูงประมาณ 5-10 ซม. เพื่อช่วยป้องกันน้ำซึมบริเวณมุมของดาดฟ้าและกำแพงอีกชั้นหนึ่ง แล้วทาสีทับได้ ทั้งนี้เพื่อให้ได้พื้นผิวที่มีสีใกล้เคียงกับสีเดิมของตัวบ้าน

อีกปัญหาหนึ่งของกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคา เมื่อมีอายุการใช้งานมาแล้วระยะหนึ่งที่ยาวนาน ก็มักจะพบกับปัญหาได้เช่นกัน ได้แก่ กระเบื้องมีรอยแตก ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ให้น้ำรั่วซึมได้ ส่วนใหญ่แล้วน้ำจะรั่วบริเวณที่มีการใช้ตะปูยึดกระเบื้องกับโครงหลังคา ปัญหาเกิดจากลูกยางหมดอายุ น้ำฝนจะรั่วบริเวณขอบกระเบื้องที่ชนกับผนังหรือฝาบ้าน น้ำรั่วบริเวณที่ใช้ปูนทำเป็นสันครอบ ปูนปั้น

Scroll to Top