มีสติอยู่กับตัว คือ ธรรมะ

มีสติอยู่กับตัว คือ ธรรมะ

หลักธรรมคำสอนขอพุทธศาสนากับคนไทยนั้นอยู่ด้วยกันมาอย่างช้านาน คนไทยซึมซับเอาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ดำเนินชีวิตไปได้อย่างสงบร่มเย็น ซึ่งหลักสัจธรรมเป็นคำสอนที่ปรากฏอยู่ในที่ทั่วๆไป ไม่มีใครบัญญัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง แล้วทรงเปิดเผย ทำให้ตื้นและแจกจ่ายให้แก่คนทั่วไป เราจึงได้รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามความเป็นจริง การนำหลักธรรมะเหล่านั้นมาเป็นแนวปฏิบัติ ขัดเกลาจิตใจของเราจะช่วยให้ทุกๆ ท้านมี “สติ” ในการใช้ชีวิตนั้นเอง บทความนี้จะขอเชิญชวนทุกๆ ท่านมาใช้หลักธรรมะ ควบคู่กับการใช้ชีวิตที่ดี ที่สามารถใช้ได้จริงกันครับ

หลักธรรมะของพระพุทธศาสนาคืออะไร ?

ธรรมะ หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม หรืออีกมากกมาย โดยท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่สามารถขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า “หน้าที่” เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที่ ศาสนาพุทธเรียกธรรมว่าพระธรรม คือหลักความเป็นไปของโลก เน้นความจริงที่เกิดขึ้นกับโลก การเกิด ดับ ดั่งเช่นพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้

สติคู่กับธรรมะ เป็นอย่างไร ?

สติ ก็คือปัจจุบัน ให้จิตอยู่ในปัจจุบัน อยู่กับการกระทำของร่างกาย ถ้าอยู่กับการกระทำของร่างกายก็จะมีสติถ้าปล่อยให้ร่างกายอยู่ไปตามลำพัง ส่วนจิตไปคิดเรื่องอื่นก็จะไม่มีสติ

ธรรมะ ก็คือ หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ได้ให้แง่คิดในการใช้ชีวิตกับมนุษย์ทุกคน ให้ตระหนักถึงการทำความดี ละเว้นจากบาปหรือการทำชั่ว รู้จักตน รู้จักโลก 

พอรวมกันระหว่างกับสติกับธรรมะ ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดีและน่าสนใจนั้นก็คือ “ทุกๆ อย่างต้องบนความมีสติและยึดหลักความเป็น” ในการใช้ชีวิตนั้นเองครับ

3 หลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่สามารถประยุกต์ใช้ในการใช้ชีวิต

1. อิทธิบาท 4 เป็นธรรมะเหมาะกับการใช้ในการทำงาน ทำให้เรามีสติกับการลงมือทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ซึ่งประกอบด้วย
– ฉันทะ คือ ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
– วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน
– จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน
– วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ

2. ศีล 5 จะช่วยให้การใช้ชีวิตเป็นสุข ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีสติในการใช้ชีวิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้นเอง จะประกอบไปด้วย

งดเว้นการฆ่าสัตว์, งดเว้นการลักทรัพย์ม, งดเว้นการละเมิดกาม, งดเว้นการพูดเท็จและงดเว้นการดื่มสุราเมรัย

3. อริยสัจ 4  คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ว่ากันด้วยเรื่องของความจริงที่คนเราต้องยึดถือและรู้แจ้งถึงเหตุผลต่างๆ หรืออีกนัยยะหนึ่งคือ การมีสิตสัมปัชชัญะอยู่เสมอๆ นั้นเอง ซึ่งประกอบไปด้วย
– ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์            
– สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์            
– นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์            
– มรรค คือความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์

การนำหลักธรรมะและความมีสติมาใช้เป็นแนวทางการใช้ชีวิตควบคู่กันเช่นนี้ ย่อมส่งผลดีต่อทุกๆ ท่าน ลดความประมาท รู้จักประมาณตนและประพฤติตนเป็นคนดี สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่น่ายึดถือปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง  เราหวังว่าบทความของเราในวันนี้จะสามารถแนะนำท่านผู้อ่านให้มองเห็นถึงความสำคัญในการมีสติและมีธรรมะในจิตใจสำหรับการดำเนินชีวิตกันนะครับ 

Scroll to Top