พิธีกรรมทางศาสนา

วิธีการปฎิบัติพิธีกรรมทางศาสนา ทำได้ง่ายๆ และใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องใช้ชีวิตทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย ระหว่างการใช้ชีวิตทำในสิ่งต่างๆ นั้น ก็จะมีเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งที่อีกทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้จิตใจแจ่มใส ระงับอารมณ์ที่ผลีผลาม ป้องกันการขาดสติในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้เป็นอย่างดีนั้นเอง “ธรรมะกับชีวิต”  จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเรา เราสามารถทำงานไปด้วยปฏิบัติธรรมไปด้วยได้ เพียงแค่ฝึกฝนเรียนรู้เรื่องสิ่งรวบตัวให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน “ทุกข์สุขก็ขึ้นอยู่กับตัวเรากำหนด”  บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านมาพบกับ “วิธีการปฎิบัติพิธีกรรมทางศาสนา ทำได้ง่ายๆ” ซึ่งสามารถช่วยให้การใช้ชีวิตของทุกๆ ท่านนั้นมีสติและดีขึ้นกันครับ

ธรรมมะกับชีวิต เป็นอย่างไร ?

“เมื่อเหตุผิด…ผลย่อมผิด” หลักคำสอนนี้ หลายๆ ท่านทุกเคยประสบพบเจอกันมาบ้าง หลักธรรมข้อนี้เป็นสิ่งที่คอยสอนให้เราประพฤติตนในทางที่ถูกต้องอยู่เสมอ พร้อมกับเข้าในหลักเหตุผลต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำต่างๆ ทั้งในอดีตและอนาคต  การยึดหลักธรรมะมาใช้ในชีวิตประจำวันนั้น จะช่วยให้เราเป็นผู้ที่มีสติในการใช้ชีวิต ไตร่ตรองสิ่งต่างๆ เป็นอย่างดี ช่วยเสริมสร้างสมาธิให้เราไม่ประมาทอีกด้วย

5 หลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่สามารถประยุกต์ใช้ในการใช้ชีวิต

1.อิทธิบาท 4 เป็นธรรมะเหมาะกับการใช้ในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย
– ฉันทะ คือ ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
– วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน
– จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน
– วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ
ซึ่งทั้ง 4 ข้อนี้ รวมกันแล้วหมายถึง การที่ให้เราเอาใชใส่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่โดยปฏิบัติด้วยความเข้าใจ ไม่กังขาและมีความอดทน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานครับ

2.ศีลห้า จะช่วยให้การใช้ชีวิตเป็นสุข ไม่เบียดเบียนผู้อื่น โดยประกอบไปด้วย
ศีลข้อที่ 1 งดเว้นการฆ่าสัตว์
ศีลข้อ 2  งดเว้นการลักทรัพย์
ศีลข้อ 3 งดเว้นการละเมิดกาม
ศีลข้อ 4 งดเว้นการพูดเท็จ
ศีลข้อ 5 งดเว้นการดื่มสุราเมรัย
มีประโยชน์โดยรวม 2 ด้านคือ
เพื่อความสงบสุขของสังคม คือเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น อันจะส่งผลให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ความหวาดระแวง และความวุ่นวายในสังคม
เพื่อพัฒนาจิตใจของผู้ที่ถือศีลนั้นเอง เพราะศีล ๕ นั้น ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อควบคุม ไม่ให้มีการแสดงออกทางกาย หรือทางวาจา ไปในทางที่ตอบสนองอำนาจของกิเลส

3. อริยสัจ 4  คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ประกอบไปด้วย
– ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์            
– สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์            
– นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์            
– มรรค คือความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์
โดยหลักธรรมนี้เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา สอนให้มองความจริงของชีวิต  เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบและทำให้พระองค์หลุดพ้นจากทุกข์ทั้ง

4. ขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์ เป็นหลักธรรมในศาสนาพุทธที่สอดคล้องกับเรื่องของ “ทุกข์” ตามหลักอริยสัจ 4 โดยหมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมทั้ง 5 ที่ทำให้เกิดเป็นตันตนหรือชีวิตขึ้นมา หรืออาจพูดให้เข้าใจได้ง่ายว่า ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมกันแล้วก่อให้เกิดเป็นคนและสัตว์ขึ้นมานั่นเอง
ขันธ์ 5 ประกอบด้วยกองรูปธรรม และนามธรรมทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
1. รูป หมายถึง ส่วนที่เป็นร่างกายหรือที่เป็นรูปธรรมทั้งหมด
2. เวทนา หมายถึง ส่วนที่เป็นความรู้สึกทุกข์ สุข ดีใจ พอใจ
3. สัญญา หมายถึง ส่วนที่เป็นการจำสิ่งที่ได้รับ
4. สังขาร หมายถึง ส่วนที่เป็นการคิดปรุงแต่ง โดยสามารถแยกแยะสิ่งที่รู้สึกหรือจดจำได้
5. วิญญาณ หมายถึง จิตที่เป็นการรู้แจ้งถึงสิ่งต่างๆ ผ่านสัมผัสทั้ง 5

และนี้คือ “วิธีการปฎิบัติพิธีกรรมทางศาสนา ทำได้ง่ายๆ และใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด” ที่ทุกๆ ท่านสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมและนำไปเป็นหลักในการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดีครับ

Scroll to Top